อาหารภาคกลาง ถือได้ว่าเป็นประดิษฐ์กรรมทางวัฒนธรรม ที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนาธรรมจากหลากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็น จีน, เขมร, อินเดีย, ลาว, เวียดนาม, พม่า นอกจากนี้ยังรวมไปถึงประเทศจากชาติตะวันตก ที่ได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงไม่แปลกที่พื้นที่ภาคกลางจะมี สูตรอาหารไทยโบราณ ที่มีความหลากหลาย ด้วยลักษณะการปรุง และการตกแต่งที่แปลกตา ชักชวนให้น่ารับประทานเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีความประณีตบรรจง ที่สืบเนื่องมาจากการถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารจากภายในวัง ทั้งนี้คนไทยในภาคกลางมักจะนิยมรับประทานข้าวเจ้าเป็นส่วนใหญ่ ในแต่ละมื้อจึงมีการจัดสำรับโดยมีกับข้าวที่หลากหลาย อาหารประจำภาคกลาง
นอกจากนี้ อาหารภาคกลาง ก็ยังมีรสชาติที่โดดเด่นมากกว่าภาคอื่นเป็นไหน ๆ เนื่องจากมีรสชาติที่ผสมผสานกันอย่างหลากหลาย ทั้งรสเปรี้ยว, หวาน, เค็ม และเผ็ด เรียกได้ว่าเป็น สูตรอาหารไทยโบราณ ที่มีรสชาติครบเครื่องมากทีเดียว สูตรอาหารไทยโบราณ ภาคกลาง
สูตรอาหารไทยโบราณ แบบฉบับ อาหารภาคกลาง ที่มีมาอย่างช้านาน
อาหารภาคกลาง มีกรรมวิธีในการปรุงที่หลากหลายเป็นอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีเหล่าผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปรุงอาหารด้วย สูตรอาหารไทยโบราณ ให้เหล่าแม่ครัวมือใหม่ที่มีความสนใจอยากจะประกอบอาการได้ลิ้มลองสูตรต่าง ๆ ที่แสนจะง่ายดาย ทั้งนี้วิธีการปรุงอาหารของชาวไทยภาคกลางนั้น ค่อนข้างมีความซับซ้อนอยู่พอตัว ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการ แกง, ต้ม, ผัด, ทอด และยำ วัฒนธรรม อาหาร ภาค กลาง
อาหารไทยภาคกลาง ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังมีในส่วนของเครื่องจิ้มจำพวก น้ำพริกและหลน ให้เลือกรับประทานควบคู่ไปกับอาหารจานหลักได้ตามใจชอบอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มรสชาติของอาหารให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นนั่นเอง นอกจากรสชาติอาหารที่แสนอร่อย ก็ยังมีศิลปะการจัดตกแต่งจานที่สวยงามสำหรับสำรับต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน หากไม่อยากพลาดรสชาติที่เข้มข้น ครบทุกรส ก็สามารถมาลิ้มลิง อาหารภาคกลาง ได้ด้วยตัวเองตามเขตพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ รับประกันได้ว่า จะไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน
ภาคกลางอาหาร โดยจังหวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ภาคกลาง ที่สามารถเดินทางมาลิ้มลอง สูตรอาหารไทยโบราณ ก็มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 21 จังหวัด นั่นก็คือ กรุงเทพมหานคร, กำแพงเพชร, ชัยนาท, นครนายก, นครปฐม, นครสวรรค์, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, ลพบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม. สมุทรสาคร, สระบุรี, สิงห์บุรี, สุโขทัย, สุพรรณบุรี, อ่างทอง และอุทัยธานี ทั้งนี้เหล่านักท่องเที่ยวที่อยากรับรสใหม่ ๆ ก็สามารถเลือกเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ได้ตามความสะดวกสบายของตัวเองได้เลยทันที ภาคกลางอาหารที่นิยมรับประทาน
ลักษณะของอาหารท้องถิ่นไทยภาคกลาง
- รสชาติ อาหารท้องถิ่นไทยภาคกลาง โดยทั่วไปมีสามรส เปรี้ยว เค็ม หวาน บางชนิดมีเผ็ด มัน ขม เมื่อปรุงเสร็จจะได้รสกลมกล่อม
- รูปร่างลักษณะของ อาหารภาคกลาง เป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ ประชาการจะอยู่อย่างมีความสุข กอปรกับภาคกลางเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ในวังหลวงมีการประดิษฐ์ประดอย จัดแต่งอาหารและวัสดุที่ประกอบอาหารสวยงาม เมื่อปรุงเสร็จอาหารก็จะน่ารับประทาน
- กลิ่นและสี อาหารท้องถิ่นไทยภาคกลาง กลิ่นนั้นจะหอมน่ารับประทาน เช่น แกงเผ็ด แกงส้ม ก็จะหอมกลิ่นพริกเป็นหอมฉุน ถ้าเป็นขนมก็กลิ่นจะหอมหวาน
- เครื่องเคียง เครื่องเคียง หมายถึง อาหารที่รับประทานคู่กับอาหารอีกอย่างหนึ่ง เช่น ขนมจียน้ำพริก มีเครื่องเคียงมากมาย ทั้งผักสด ผักทอด ทอดมัน เป็นต้น
อร่อยหลากรสกับอาหารไทย 4 ภาค
อาหารไทยมีมากมายหลากหลายเมนู ทั้งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปและอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของเมนูนั้นๆ มาก่อนเลยก็ได้ ยิ่งหากเป็นอาหารไทยทั้ง 4 ภาคแล้ว…เหนือ กลาง อีสาน และใต้ ความอร่อยของแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมและประเพณีแต่เก่าก่อน แล้วอาหารในแต่ละภาคจะมีอะไรเด็ดๆ บ้าง คุณจะเคยชิมกันแล้วหรือยัง ไปชิมพร้อมกันเลยค่ะ
ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค
คนไทยแต่ละภาค รับประทานอาหารแตกต่างกัน ตามลักษณะพื้นที่ดินฟ้าอากาศ และความอุดมสมบูรณ์ เช่น พวกที่อยู่ริมทะเล รับประทานอาหารแบบหนึ่ง พวกที่อยู่บริเวณที่มีอากาศหนาว หรืออากาศร้อนก็รับประทานอาหารอีกแบบหนึ่ง สิ่งหนึ่งที่คนไทยยังรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยทุกภาค คือ การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด โดยเฉพาะภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ